วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำน้ำยาเอนกประสงค์

การทำยาสระผมใช้เอง
แชมพูสระผม - ว่านหางจระเข้ มะกรูด
ส่วนผสม
1 หัวแชมพู 8000 2 กก
2. ผงฟอง 1 ขีด
3 ผงข้น 1 ขีด
4 ลาโนลีน 1 ขีด
5 กลิ่นคาโอ 1 ออนซ์
6 ว่านหางจระเข้ 150 กรัม
7 มะกรูด 150 กรัม
8 สีเขียว ฟ้า 1 ห่อ
9 น้ำกลั่น 2 ลิตร
วิธีทำ
นำผงฟองเทผสมลงในน้ำ 1 ลิตร คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน เติมหัวแชมพู คนให้เข้ากัน นำลาโนลีนมาละลายในน้ำร้อนแล้วเทลงในส่วนผสม คนให้เข้ากัน จากนั้นเติม กลิ่น สี ว่านหางจระเข้ มะกรูด คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วค่อยๆเติมผงข้นลงไปในส่วนผสมโดยเติมไปคนไปจนข้นพอประมาณ ปล่อยทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืนจึงนำไปบรรจุ
สูตรแชมพูสระผม
ส่วนผสม
แชมพูออย 23.5%(1กิโลกรัม), ผงข้น 2.5%(2-3 ขีด), น้ำ 70.0%(3 กิโลกรัม), น้ำหอมพอประมาณ(ใช้ไม่เกิน 0.5% ออนซ์(ครึ่งออนซ์)), ผงฟอง 4.0% (1ขีด), ลาโลนิน 1/4 ขีด (25 กรัมละลายในน้ำร้อน) และสีตามต้องการ
วิธีทำ
1. นำน้ำแชมพูและผงฟองคนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วผสมสีตามที่ต้องการ
2. เมื่อขั้นที่ 1 คนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงเติมผงข้นตามที่กำหนดข้างต้นคนให้เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้ความหนืดหลังจากนั้นจึงเติมน้ำหอมลงไป

สูตรครีมนวดผมของอเมริกา

ส่วนผสม : 1. บาควอท ซีที-429 (3.50%),2. คาโคล 60 (3.20%), 3. กรดมะนาวแอนไฮดรัส (0.01%), 4. น้ำหอม (0.50-1.00%), และ 5. น้ำ 92.79-92.29%
วิธีทำ : เอา 1+2+3+5 ใส่ในภาชนะ แล้วยกไปตั้งในกาละมังที่ตั้งบนเตาเคี่ยวจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 70-80 องศาเซลเซียส แล้วให้ยกลง รอจนอุณหภมิลดลงเหลือ 40 องศาซี ค่อยเติมน้ำหอม คนให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
หมายเหตุ ถ้าต้องการรักษาหรือป้องกันผมแตกปลายให้เติม ACETAMIDE MEA ในอัตรา 3.0-5.0% โดยการลดส่วนของน้ำลงในอัตราเท่ากันกับ ACETAMIDE MEA
ครีมนวดผมสมุนไพร
* ว่านหางจระเข้ เลือกว่านหางจระเข้ที่มีอายุ 1 ปี ขึ้นไปจะให้วุ้นที่ดีที่สุดตัดเอาใบแก่ขนาดใหญ่
ที่อยู่ล่างสุด

* มะกรูด เลือกผลที่สมบูรณ์โดยสังเกตจากลักษณะผลเต่งตึงเปลือกสีเขียวเข้มเป็นมันโชย
กลิ่นหอมบางเบา

* ขมิ้นชัน เลือกเหง้าหรือหัวที่แก่จัดมีสีเข้ม2. การเตรียมสมุนไพร
          สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ จะต้อง จัดเตรียม ดังนี้
การเตรียมว่านหางจระเข้
          1. นำว่านหางจระเข้ ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออกให้หมด นำไปล้างเอาเมือกออกอีกครั้ง
          2. หั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้น ๆ
          3. เอาว่านหางจระเข้ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำปั่นให้ละเอียด
การเตรียมมะกรูด
          1. ล้างมะกรูดให้สะอาด
          2. ฝานมะกรูดบาง ๆ เตรียมไว้การเตรียมดอกอัญชัน ล้างดอกอัญชัน ใส่ภาชนะเตรียมไว้
การเตรียมขมิ้นชัน
           1. ฝานขมิ้นบาง ๆ
           2. ตากแดดให้แห้ง
           3. นำมาบดให้ละเอียดจะได้ขมิ้นผง
การทำแชมพูสระผมสมุนไพร แต่ละครั้งต้องเตรียม ส่วนผสมให้ครบถ้วนตามอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงจะได้แชมพูสระผมที่มี
คุณภาพดี มีส่วนผสมดังต่อไปนี้
ส่วนผสมครีมนวดผมสมุนไพร
สมุนไพร
ว่านหางจระเข้                         2   ถ้วยตวง
มะกรูด                                5   ผล
ขมิ้นชันผง                             2   ช้อนโต๊ะ
สารเคมี
Wax AB                           400   กรัมAC (น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์)            200   กรัม
หัวน้ำหอม (fragrance)            25    ซี ซี
น้ำ                                     4    ลิตร

ขั้นตอนการทำครีมนวดผมสมุนไพร
การทำครีมนวดผมสมุนไพร มีขั้นตอนและวิธีทำ ดังนี้
1. ตวงน้ำสะอาด ลิตรตั้งไฟให้เดือด
2. ใส่ว่านหางจระเข้ที่ปั่นแล้ว
3. ใส่มะกรูดที่ฝานแล้ว
4. ใส่ขมิ้นผง คนให้เข้ากัน ต้มให้เดือด
5. นำส่วนผสมทั้งหมดกรองเอากากทิ้งด้วยที่กรองหยาบ
6. กรองอีกครั้งด้วยที่กรองละเอียด
7. นำขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำที่เหลือ 3 ลิตร ให้เดือดอีกครั้ง
8. ใส่ Wax AB คนให้ละลายจนหมด
** ยกลงจากเตา คนเรื่อย ๆ พออุ่น **
9. ใส่ AC คนให้เข้ากัน ครีมจะเริ่มข้นขึ้น มีลักษณะเป็นครีมข้น
10. ใส่หัวน้ำหอม คนให้เข้ากัน
การบรรจุขวด
ตักครีมนวดผมเทใส่กรวยลงสู่ขวด

น้ำยาล้างจาน

ส่วนประกอบ
1. หัวแชมพู (emal 28 ctn ) หรือ N70           1        กก.
2. สารขจัดคราบ (neopelelex f-24)               1.25  กก.
3. สารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab)    100   กรัม
4. หัวน้ำหอม                                                     8       กรัม
5. น้ำสะอาด                                                       5      ลิตร
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังน้ำขนาด                                                     10     ลิตร
2. ไม้สำหรับกวนน้ำยาให้เข้ากัน
3. ขวดน้ำเปล่าขนาดประมาณ 500 cc จำนวน 15 ขวด สำหรับใส่น้ำยา
วิธีทำ
1. นำหัวแชมพู emal 28 ctn ผสมกับ สารขจัดคราบ (neopelelex f-24) กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยเติมน้ำสอาดทีละน้อยจนครบ 5 ลิตร กวนให้เข้ากัน
2. เติมสารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab) ในส่วนผสมข้อที่ 1 กวนให้เข้ากัน (กวนช้า ๆ เพราะจะเกิดฟองมาก
3. เมื่อกวนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นำสารกันเสียและหัวน้ำหอม (น้ำหอมกลิ่นมะนาวหรือกลิ่นอื่นที่ชอบ) เติมลงไปกวนให้เข้ากัน

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ
มะละกอ (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: ᨠᩖ᩠ᩅ᩠᩶ᨿᨴᩮ᩠ᩈ) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหาร
ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน
0.5 กรัม
ไขมัน
0.1 กรัม
แคลเซียม
24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส
22 มิลลิกรัม
เหล็ก
0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม
4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน
0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน
0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน
0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)
70 มิลลิกรัม


สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้
         มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ

โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

1.       การใ้ห้ปุ๋ย
- ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
- ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
2.       การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
3.       การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
4.       การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว

มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม

ประโยชน์ของมะละกอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์จากมะละกอ (Papaya)

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน
มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว
ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น
ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่
ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง
 มะละกอเป็นพืชที่มีประโยชน์ที่คนไทยนิยมรับประทานทั้งสุกและดิบ ทุกส่วนของมะละกอมีประโยชน์จึงควรปลูกมะละกอไว้รับประทานเอง


                                                             

       มะละกอเป็นพืชมหัศจรรย์ ทุกส่วนของมะละกอสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นมะละกอมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดซึ่งอุดมไปด้วย วิตามินเอและสารเบต้าเคโรทีน วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ผม ฟัน เหงือก สารเบต้าแคโรทีนช่วยต้านโรคมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณสดใสลบริ้วรอยสิวฝ้า ส่วนผลสุกและดิบมีวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก วิตามินซี ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด โรคมะเร็ง โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟันและใต้ผิวหนัง ช่วยไม่ให้แก่ก่อนวัย แคลเซี่ยม ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ฟอสฟอรัสช่วยสร้างกระดูกและฟัน เหง้าช่วยบารุงเลือดและป้องกันการเป็นโรคโลหิตจาง




          เส้นใยในเนื้อของมะละกอช่วยให้ระบบขับถ่ายทางานได้ดี ไม่ทำให้ท้องผูก ไม่เกิดสิว ทำให้ไม่อ้วน ผิวพรรณสดใสมีเลือดฝาด ทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย  ผลสุกของมะละกอมีรสหวานอร่อย มีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน  รับประทานได้ทั้งที่เป็นผลสด หรือทำเป็นเครื่องดื่ม ทำแยม  ส่วนผลดิบนำไปประกอบอาหารทั้งที่เป็นอาหารคาว  อาหารหวาน และอาหารยอดนิยมได้แก่ส้มตำ  อาหารคาวเช่นนำไปทำเป็นแกงส้ม แกงเผ็ด ผัดใส่ไข่ แกงเหลือง แกงอ่อม แกงป่า ดองเค็ม ต้มเค็ม ต้มหรือนึ่งเป็นผักจิ้มน้าพริก ส่วนอาการหวานที่รู้จักกันดีคือมะละกอแช่อิ่ม รับประทานเป็นขนมหวานหรือใส่เป็นน้าแข็งใสก็ได้ 
                                                          

       ยางที่ได้จากผลมะละกอดิบยังใช้หมักเนื้อ ช่วยให้เนื้อเปื่อยยุ่ยทุกส่วนของมะละกอมีสรรพคุณทางยาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและบาบัดรักษา โรคได้ ดังเช่นเนื้อของผลสุก ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหาย บารุงกระเพาะ บารุงม้าม..แก้ปวดท้อง และช่วยขับปัสสาวะเนื้อของผลดิบ หากนำไปตากแห้งและบดเป็นผงนาไปรับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้า จะช่วยแก้พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลมใบ นาใบสดไปตาหรือย่างไฟ ใช้พอกรักษาแผล หนอง กลาก..เกลื้อน และอาการปวดบวมได้เมล็ด นามาบดเป็นผง ใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน และโรคผิวหนัง ราก นำไปต้ม ใช้ดื่มขับปัสสาวะ ขับประจาเดือน ดอก นำไปตากแห้ง ชงเป็นน้ำดื่มขับประจำเดือนแก้ไข้ แก้โรคดีซ่าน ถ้านำไปต้มใส่น้าตาล ดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจไม่ปกติ  และผลมะละกอดิบเมื่อนำไปปอกเปือกล้างให้สะอาด  หั่นเป็นชิ้นๆ  นำไปต้มรับประทานจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก  น้ำที่ต้มนำไปดื่มล้างไขมันในลำไส้เป็นการดีทอกซ์ราคาถูก สามารถลดน้ำหนักได้ดี

เชื่อมโยงความรู้จากเรื่อง
            มหัศจรรย์แห่งมะละกอ เป็นเนื้อหาในหนังสือวิวิธภาษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงประโยชน์ของมะละกอ  และได้มีการเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่นและภาษามาตรฐานในภาษาไทยว่ามีการใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานส่วนภาษาถิ่นนักเรียนจำเป็นต้องรู้  เช่น  มะละกอเป็นภาษากลาง  แต่มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นต่างกัน  เช่นภาษาเหนือเรียกว่า  มะเต้ด  ภาษาอีสาน เรียกว่า บักหุ่ง  ภาษาใต้  เรียกว่า  มะเต๊ะ  เป็นต้น  และมีคำอื่นๆอีกมากที่นักเรียนควรศึกษาสืบค้น